Author Archives: may -

how to calculate display resolution of pressure gauge

การคำนวนความละเอียดของจอแสดงผล Pressure Gauges ยี่ห้อ Additel

1. เลือก Pressure Range จาก Datasheet ของเกจรุ่นนั้นๆ อาทิเช่น : เราเลือกต้องการดิจิตอล Pressure Gauge ช่วงการวัด 0 – 300psi ซึ่งตรงกับ P/N GP300 (0 – 300 PSI) 2. ท่านต้องรู้ก่อนว่าท่านต้องการหาค่าความละเอียดในหน่วยใด      อาทิเช่น : ต้องการทราบความละเอียดในหน่วย kPa 3. จากนั้นท่านนำ Maximum Pressure ในข้อที่ 1 ไปแปลงให้อยู่ในหน่วยที่ท่านต้องการจะหาค่าความละเอียด ณ ที่นี้จะทำการแปลง 300 PSI ให้อยู่ในหน่วย kPa 4. หลังจากนั้นท่านนำผลลัพธ์จากข้อ 3 มาเตรียมไว้ 300 PSI = 2,068.42718796 kPa   5. […]

Low Pressure Calibration

การสอบเทียบความดันต่ำ (Low Pressure Calibration)

       ในการสอบเทียบความดันต่ำนั้นมีหลายปัจจัยแวดล้อมที่สามารถส่งผลกระทบต่อผลการสอบเทียบได้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบในเรื่องของอุณหภูมิห้อง , ความดันบรรยากาศภายในห้อง รวมถึงความผิดพลาดจากผู้สอบเทียบเองก็ถือว่าเป็นผลกระทบหลักด้วยเช่นเดียวกัน        หากเราต้องการจะทำการสอบเทียบที่ความดันต่ำเราควรจะพิจารณาในเรื่องใดบ้างก่อนที่เราจะลงทุนซื้อเครื่องมือมาทำการสอบเทียบ 1. Pressure Calibration Range (ย่านความดันที่จะทำการสอบเทียบ)        อย่างที่เราทราบกันดีหรือบางท่านอาจจะมีประสบการณ์โดยตรงกับการสอบเทียบความดันต่ำมาบ้างแล้ว จะเห็นได้ว่าการสอบเทียบความดันต่ำนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะประคองหรือรักษาความนิ่งของค่าความดันที่วัดได้ไม่ว่าจะเป็นค่าจาก Reference Gauge หรือ UUC ก็ตามแต่ให้นิ่งพอที่จะจดบันทึกค่าได้ อันเป็นผลมาจากการขยาย-หดตัวของอากาศ หรือ Thermal Expansion of Air ภายในระบบมีการขยาย-หดตัวตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาและไม่สามารถหยุดยั้งได้“อุณหภูมิสูงขึ้น อากาศเกิดการขยายตัว ความดันเพิ่มขึ้น หรือ อุณหภูมิเย็นลง อากาศเกิดการหดตัว ความดันลดลง”        สิ่งที่ทำได้คือชะลอการเปลี่ยนแปลงให้มีการเปลี่ยนของอุณหภูมิให้ช้าที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ โดยส่วนมากหากทำการสอบเทียบที่ความดันสูง ผลกระทบเนื่องจากอุณหภูมิจะไม่ค่อยชัดเจนหรือเห็นผลกระทบได้น้อย หากเทียบกับการสอบเทียบที่ความดันต่ำซึ่งจะเห็นผลกระทบได้ชัดเจนกว่า        ขนาดของปั้มก็มีผลต่อการสอบเทียบความดันต่ำ เพราะขนาดของปั้มจะต้องสามารถสร้างความดันได้ครอบคลุมช่วงความดันที่เราจะใช้งาน ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อขนาดของปั้มที่ใหญ่ขึ้น จะสามารถสร้างความดันได้มากขึ้น แต่ในทางกลับกันปริมาณความดันที่เกิดขึ้นต่อการปั้ม […]

“จะซื้อมัลติมิเตอร์ซักเครื่องแต่สับสนว่า Digit กับ Count มันต่างกันอย่างไร และ ต้องมี Digit หรือ Count แค่ไหนจึงจะเรียกว่าดีกว่า”

เชื่อว่าทุกท่านที่กำลังอ่าน Blog นี้อยู่ ต่างก็มีคำถามเดียวกันว่า “จะซื้อมัลติมิเตอร์ซักเครื่อง แต่สับสนว่า Digit กับ Count มันต่างกันอย่างไร และ ต้องมี Digit หรือ Count แค่ไหนจึงจะเรียกว่าดีกว่า” ฉะนั้นเราจะมาอธิบายให้ทุกท่านได้รู้และนำไปใช้พิจารณาก่อนที่จะตัดสินใจซื้อมัลติมิเตอร์ไม่ว่าจะราคาต่ำหรือสูงแค่ไหนก็สามารถที่จะใช้องค์ความรู้นี้ไปใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าใน Digital Multimeter หรือแม้กระทั่งเครื่องมือวัดประเภทต่างๆ ล้วนแล้วจะต้องมีความสามารถที่จะแสดงผลการวัดให้ครอบคลุมกับทุกย่านวัด(Range) และ ฟังชั่น (Function) ที่สามารถเลือกใช้งานได้บนเครื่องมือวัดนั้นๆ ไม่ใช่เพียงแค่ย่านวัดใดย่านวัดหนึ่ง หรือ ฟังชั่นใดฟังชั่นหนึ่ง ฉะนั้นเรามาทำความรู้จักคำว่า Digit และ Count กันเสียก่อนว่านิยามจริงๆของทั้ง 2 คำนี้คืออะไร 1. Digit (หลัก) คือจำนวนหลักที่นับได้บนหน้าจอของเครื่องมือวัด ณ ที่นี้คือมัลติเตอร์เช่น Digital Multimeter – UNI-T model : UT8805E ตามรูปด้านล่างนี้ จะเห็นได้ว่า เราเห็นจำนวนหลักที่แสดงอยู่บนจอของเครื่องอยู่ทั้งหมด 6 หลัก (ไม่รวมจุดทศนิยม) […]

การเลือกมัลติมิเตอร์

เมื่อต้องเลือก Digital Multimeter (DMM) มาใช้งานสักเครื่อง

ซึ่งหากท่านคิดที่จะใช้งานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้ากระแสสลับที่รูปคลื่นไม่เป็นคลื่นไซน์ (sine wave) จะต้องคิดให้หนัก กล่าวคือ ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ ถูกออกแบบมาให้วัดรูปร่างคลื่นอะไรก็ได้ ความถี่ย่านกว้างๆได้อย่างแม่นยำ แต่มันจะใช้ไม่ได้เลยกับงานบางอย่าง เช่น Pulse width modulation (PWM) ซึ่งเราต้องการวัดค่าความถี่ต่ำอย่างเดียว แต่อินเวอร์เตอร์ (Inverter) มีความถี่สูงปนมาด้วย จะทำให้ค่าที่แสดงออกมาสูงผิดปกติ ซึ่งเราอาจจะทึกทักว่าเสียก็ได้ ดังนั้นหากเรามีโอกาสที่จะต้องใช้ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ในงานไฟฟ้า หรือ มอเตอร์ ก็ควรจะมองหาดิจิตอลมัลติมิเตอร์ ที่มีลักษณะกรองความถี่ต่ำ (low pass filter) ซึ่งหากจำเป็นจะต้องเลือกจริงๆ ก็จะเหลือดิจิตอลมัลติมิเตอร์ในตลาดเพียงไม่กี่รุ่นและไม่กี่ยี่ห้อ สำหรับนักมาตรวิทยาที่ทำงานในห้องสอบเทียบดิจิตอลมัลติมิเตอร์ต้องมีลักษณะจำนวน digits หรือ จำนวน Counts สูงๆ และค่าความเสถียร(Stability) ดีๆ ซึ่งจะมีราคาสูงขึ้นไปกว่าดิจิตอลมัลติมิเตอร์ทั่วไป งานไฟฟ้าบางประเภทอาจต้องการดิจิตอลมัลติมิเตอร์ที่มีลักษณะ Lo Z (Low Input Impedance) เพื่อง่ายต่อการตรวจซ่อมระบบไฟฟ้า ซึ่งดิจิตอลมัลติมิเตอร์โดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติ Hi Z (High Input Impedance) อาจทำให้ช่างไข้วเขวจากปัญหาแรงดันผีหลอก (Ghost Voltage)