Category Archives: Electrical Measurement and Testing

“จะซื้อมัลติมิเตอร์ซักเครื่องแต่สับสนว่า Digit กับ Count มันต่างกันอย่างไร และ ต้องมี Digit หรือ Count แค่ไหนจึงจะเรียกว่าดีกว่า”

เชื่อว่าทุกท่านที่กำลังอ่าน Blog นี้อยู่ ต่างก็มีคำถามเดียวกันว่า “จะซื้อมัลติมิเตอร์ซักเครื่อง แต่สับสนว่า Digit กับ Count มันต่างกันอย่างไร และ ต้องมี Digit หรือ Count แค่ไหนจึงจะเรียกว่าดีกว่า” ฉะนั้นเราจะมาอธิบายให้ทุกท่านได้รู้และนำไปใช้พิจารณาก่อนที่จะตัดสินใจซื้อมัลติมิเตอร์ไม่ว่าจะราคาต่ำหรือสูงแค่ไหนก็สามารถที่จะใช้องค์ความรู้นี้ไปใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าใน Digital Multimeter หรือแม้กระทั่งเครื่องมือวัดประเภทต่างๆ ล้วนแล้วจะต้องมีความสามารถที่จะแสดงผลการวัดให้ครอบคลุมกับทุกย่านวัด(Range) และ ฟังชั่น (Function) ที่สามารถเลือกใช้งานได้บนเครื่องมือวัดนั้นๆ ไม่ใช่เพียงแค่ย่านวัดใดย่านวัดหนึ่ง หรือ ฟังชั่นใดฟังชั่นหนึ่ง ฉะนั้นเรามาทำความรู้จักคำว่า Digit และ Count กันเสียก่อนว่านิยามจริงๆของทั้ง 2 คำนี้คืออะไร 1. Digit (หลัก) คือจำนวนหลักที่นับได้บนหน้าจอของเครื่องมือวัด ณ ที่นี้คือมัลติเตอร์เช่น Digital Multimeter – UNI-T model : UT8805E ตามรูปด้านล่างนี้ จะเห็นได้ว่า เราเห็นจำนวนหลักที่แสดงอยู่บนจอของเครื่องอยู่ทั้งหมด 6 หลัก (ไม่รวมจุดทศนิยม) […]

การเลือกมัลติมิเตอร์

เมื่อต้องเลือก Digital Multimeter (DMM) มาใช้งานสักเครื่อง

ซึ่งหากท่านคิดที่จะใช้งานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้ากระแสสลับที่รูปคลื่นไม่เป็นคลื่นไซน์ (sine wave) จะต้องคิดให้หนัก กล่าวคือ ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ ถูกออกแบบมาให้วัดรูปร่างคลื่นอะไรก็ได้ ความถี่ย่านกว้างๆได้อย่างแม่นยำ แต่มันจะใช้ไม่ได้เลยกับงานบางอย่าง เช่น Pulse width modulation (PWM) ซึ่งเราต้องการวัดค่าความถี่ต่ำอย่างเดียว แต่อินเวอร์เตอร์ (Inverter) มีความถี่สูงปนมาด้วย จะทำให้ค่าที่แสดงออกมาสูงผิดปกติ ซึ่งเราอาจจะทึกทักว่าเสียก็ได้ ดังนั้นหากเรามีโอกาสที่จะต้องใช้ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ในงานไฟฟ้า หรือ มอเตอร์ ก็ควรจะมองหาดิจิตอลมัลติมิเตอร์ ที่มีลักษณะกรองความถี่ต่ำ (low pass filter) ซึ่งหากจำเป็นจะต้องเลือกจริงๆ ก็จะเหลือดิจิตอลมัลติมิเตอร์ในตลาดเพียงไม่กี่รุ่นและไม่กี่ยี่ห้อ สำหรับนักมาตรวิทยาที่ทำงานในห้องสอบเทียบดิจิตอลมัลติมิเตอร์ต้องมีลักษณะจำนวน digits หรือ จำนวน Counts สูงๆ และค่าความเสถียร(Stability) ดีๆ ซึ่งจะมีราคาสูงขึ้นไปกว่าดิจิตอลมัลติมิเตอร์ทั่วไป งานไฟฟ้าบางประเภทอาจต้องการดิจิตอลมัลติมิเตอร์ที่มีลักษณะ Lo Z (Low Input Impedance) เพื่อง่ายต่อการตรวจซ่อมระบบไฟฟ้า ซึ่งดิจิตอลมัลติมิเตอร์โดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติ Hi Z (High Input Impedance) อาจทำให้ช่างไข้วเขวจากปัญหาแรงดันผีหลอก (Ghost Voltage)