การสอบเทียบความดันต่ำ (Low Pressure Calibration)

       ในการสอบเทียบความดันต่ำนั้นมีหลายปัจจัยแวดล้อมที่สามารถส่งผลกระทบต่อผลการสอบเทียบได้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบในเรื่องของอุณหภูมิห้อง , ความดันบรรยากาศภายในห้อง รวมถึงความผิดพลาดจากผู้สอบเทียบเองก็ถือว่าเป็นผลกระทบหลักด้วยเช่นเดียวกัน

       หากเราต้องการจะทำการสอบเทียบที่ความดันต่ำเราควรจะพิจารณาในเรื่องใดบ้างก่อนที่เราจะลงทุนซื้อเครื่องมือมาทำการสอบเทียบ

1. Pressure Calibration Range (ย่านความดันที่จะทำการสอบเทียบ)

       อย่างที่เราทราบกันดีหรือบางท่านอาจจะมีประสบการณ์โดยตรงกับการสอบเทียบความดันต่ำมาบ้างแล้ว จะเห็นได้ว่าการสอบเทียบความดันต่ำนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะประคองหรือรักษาความนิ่งของค่าความดันที่วัดได้ไม่ว่าจะเป็นค่าจาก Reference Gauge หรือ UUC ก็ตามแต่ให้นิ่งพอที่จะจดบันทึกค่าได้ อันเป็นผลมาจากการขยาย-หดตัวของอากาศ หรือ Thermal Expansion of Air ภายในระบบมีการขยาย-หดตัวตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาและไม่สามารถหยุดยั้งได้“อุณหภูมิสูงขึ้น อากาศเกิดการขยายตัว ความดันเพิ่มขึ้น หรือ อุณหภูมิเย็นลง อากาศเกิดการหดตัว ความดันลดลง”

       สิ่งที่ทำได้คือชะลอการเปลี่ยนแปลงให้มีการเปลี่ยนของอุณหภูมิให้ช้าที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ โดยส่วนมากหากทำการสอบเทียบที่ความดันสูง ผลกระทบเนื่องจากอุณหภูมิจะไม่ค่อยชัดเจนหรือเห็นผลกระทบได้น้อย หากเทียบกับการสอบเทียบที่ความดันต่ำซึ่งจะเห็นผลกระทบได้ชัดเจนกว่า

2. Pressure Type (ประเภทของความดัน)

       ในการสอบเทียบความดันต่ำนั้นสามารถสอบเทียบได้ทั้งแบบ Differential Pressure และ Gauge Pressure แต่โดยส่วนมากมักจะเป็นเครื่องมือวัดความดันแบบ Differential Pressure มากกว่า Gauge Pressure อาทิเช่น Magnehelic Pressure Gauge ซึ่งใช้กันอย่างเป็นที่แพร่หลายในกลุ่มโรงพยาบาล , ห้องความดันบวก/ลบ , ห้องปลอดเชื้อ , ห้องวิจัยสารเคมีอันตราย  และโรงงานยา โดยการสอบเทียบแบบ Differential Pressure ค่อนข้างที่จะมีความอ่อนไหว (Sensitive) ต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปเพราะเนื่องจากท่อที่ใช้ต่อเข้ากับเครื่องมือวัดความดันแบบ Differential Pressure โดยปกติจะใช้เป็นท่อซิลิโคน

Low Pressure Calibration

3. ขนาดของปั้มที่เหมาะสม (Suitable Pressure Pumps)

Pressure Pumps

       ขนาดของปั้มก็มีผลต่อการสอบเทียบความดันต่ำ เพราะขนาดของปั้มจะต้องสามารถสร้างความดันได้ครอบคลุมช่วงความดันที่เราจะใช้งาน ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อขนาดของปั้มที่ใหญ่ขึ้น จะสามารถสร้างความดันได้มากขึ้น แต่ในทางกลับกันปริมาณความดันที่เกิดขึ้นต่อการปั้ม 1 ครั้ง อาจสร้างความดันที่เยอะเกินไปจนทำให้เซนเซอร์วัดความดันเกิดการฉีกขาดได้ เนื่องจากเซนเซอร์วัดความดันต่ำมักจะมีโครงสร้างเป็นแบบ Diaphragm Sensor ซึ่งมีความ Sensitive ต่อความดันที่ไวและสูงมาก

       ฉะนั้นเราควรเลือกปั้มที่มีขนาดพอเหมาะไม่เผื่อมากจนเกินไปโดยทั่วไปก็จะเผื่อแค่ 25% ของค่าความดันสูงสุดที่ใช้งานจริง

4. ข้อดีของการสอบเทียบความดันต่ำแบบใช้ Automated Pressure Calibrator

       หากเราใช้ Automated Pressure Calibrator ในการสอบเทียบความดันต่ำเราจะสามารถควบคุมความดันที่สร้างขึ้นได้อย่างแม่นยำและคงที่ หมดปัญหาเรื่องผลกระทบจากการขยาย-หดตัวของอากาศ หรือ Thermal Expansion of Air ภายในระบบตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป และยังสามารถทำการสอบเทียบความดันต่ำได้เร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพในการสอบเทียบเป็นอย่างมาก

5. สินค้าแนะนำ (Recommended Product)

Pressure Pumps

Pressure Test / Calibration Pump

Additel ADT901B Low Pressure Test Pump

Pressure Test / Calibration Pump

Additel ADT912A Low Pressure Test Pump

Automatic Pressure Calibrator / Pressure Controller