1. เลือก Pressure Range จาก Datasheet ของเกจรุ่นนั้นๆ อาทิเช่น : เราเลือกต้องการดิจิตอล Pressure Gauge ช่วงการวัด 0 – 300psi ซึ่งตรงกับ P/N GP300 (0 – 300 PSI) 2. ท่านต้องรู้ก่อนว่าท่านต้องการหาค่าความละเอียดในหน่วยใด อาทิเช่น : ต้องการทราบความละเอียดในหน่วย kPa 3. จากนั้นท่านนำ Maximum Pressure ในข้อที่ 1 ไปแปลงให้อยู่ในหน่วยที่ท่านต้องการจะหาค่าความละเอียด ณ ที่นี้จะทำการแปลง 300 PSI ให้อยู่ในหน่วย kPa 4. หลังจากนั้นท่านนำผลลัพธ์จากข้อ 3 มาเตรียมไว้ 300 PSI = 2,068.42718796 kPa 5. […]
Category Archives: Pressure Measurement
ในการสอบเทียบความดันต่ำนั้นมีหลายปัจจัยแวดล้อมที่สามารถส่งผลกระทบต่อผลการสอบเทียบได้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบในเรื่องของอุณหภูมิห้อง , ความดันบรรยากาศภายในห้อง รวมถึงความผิดพลาดจากผู้สอบเทียบเองก็ถือว่าเป็นผลกระทบหลักด้วยเช่นเดียวกัน หากเราต้องการจะทำการสอบเทียบที่ความดันต่ำเราควรจะพิจารณาในเรื่องใดบ้างก่อนที่เราจะลงทุนซื้อเครื่องมือมาทำการสอบเทียบ 1. Pressure Calibration Range (ย่านความดันที่จะทำการสอบเทียบ) อย่างที่เราทราบกันดีหรือบางท่านอาจจะมีประสบการณ์โดยตรงกับการสอบเทียบความดันต่ำมาบ้างแล้ว จะเห็นได้ว่าการสอบเทียบความดันต่ำนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะประคองหรือรักษาความนิ่งของค่าความดันที่วัดได้ไม่ว่าจะเป็นค่าจาก Reference Gauge หรือ UUC ก็ตามแต่ให้นิ่งพอที่จะจดบันทึกค่าได้ อันเป็นผลมาจากการขยาย-หดตัวของอากาศ หรือ Thermal Expansion of Air ภายในระบบมีการขยาย-หดตัวตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาและไม่สามารถหยุดยั้งได้“อุณหภูมิสูงขึ้น อากาศเกิดการขยายตัว ความดันเพิ่มขึ้น หรือ อุณหภูมิเย็นลง อากาศเกิดการหดตัว ความดันลดลง” สิ่งที่ทำได้คือชะลอการเปลี่ยนแปลงให้มีการเปลี่ยนของอุณหภูมิให้ช้าที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ โดยส่วนมากหากทำการสอบเทียบที่ความดันสูง ผลกระทบเนื่องจากอุณหภูมิจะไม่ค่อยชัดเจนหรือเห็นผลกระทบได้น้อย หากเทียบกับการสอบเทียบที่ความดันต่ำซึ่งจะเห็นผลกระทบได้ชัดเจนกว่า ขนาดของปั้มก็มีผลต่อการสอบเทียบความดันต่ำ เพราะขนาดของปั้มจะต้องสามารถสร้างความดันได้ครอบคลุมช่วงความดันที่เราจะใช้งาน ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อขนาดของปั้มที่ใหญ่ขึ้น จะสามารถสร้างความดันได้มากขึ้น แต่ในทางกลับกันปริมาณความดันที่เกิดขึ้นต่อการปั้ม […]